วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ

มะนาว





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle

ชื่อสามัญ : Common lime

วงศ์ : Rutaceae

ชื่ออื่น : ส้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกเป็นช่อสั้น 5-7 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ หลุดร่วงง่าย ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม พอแก่เป็นสีเหลือง ข้างในแบ่งเป็นห้องแบบรัศมี มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี 10-15 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : น้ำมะนาว (น้ำคั้นจากผล) ราก ใบ ดอก ผล เมล็ด




สรรพคุณ :




น้ำมะนาว - แก้โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ทำอาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ

ราก - กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ

ใบ - ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด

ดอก - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ

ผล - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ

เมล็ด - แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน



วิธีและปริมาณที่ใช้ :



ยาแก้ไอขับเสมหะ
น้ำในผลที่โตเต็มที่ น้ำมะนาว 2-3 ช้อนแกง, เมล็ดมะนาว 10-20 เมล็ด นำน้ำมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย จิบ จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออก และเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ดมะนาวนำไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียด เติมพิมเสน 2-5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ

ยาป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)
ใช้น้ำจากผลที่แก่จัดไม่จำกัด เติมเกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง ใช้เป็นเครื่องดื่ม หรือจะใส่ในอาหาร ก็ได้ผลเช่นกัน

ยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้น้ำจากผล ครึ่งช้อนชา หรือ 1/4 ช้อนแกง แผลถูกมีดบาด เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3-4 หยด เลือดจะหยุด

สารเคมี :
ใบ มี Alcohols, Aldehydes, Elements, Terpenoids, Citral
ผล มี 1 - Alanine, γ - Amino butyric acid, 1 - Glutamic acid
เมล็ด มี Glyceride Oil
น้ำมันหอมระเหย มี P - Dimethyl - a - Styrene, Terpinolene
กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ

มะพร้าว







ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera L. var. nucifera

ชื่อสามัญ : Coconut

วงศ์ : Palmae

ชื่ออื่น : ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส
ส่วนที่ใช้ :

เปลือกผล - ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้

กะลา - ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี

เนื้อมะพร้าว - เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว

น้ำ - น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด

ราก - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี

ดอก - ใช้สด

เปลือกต้น - ใช้สด เก็บได้ตลอดปี

สารสีน้ำตาล - ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้




สรรพคุณ :



เปลือกผล - รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน

กะลา - แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก

ถ่านจากกะลา - รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ

น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา - ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน

เนื้อมะพร้าว - รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ

น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว - ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้

น้ำมะพร้าว - รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน อาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้

ราก - รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ

เปลือกต้น - เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน

สารสีน้ำตาล - ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้
ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ
ภาพกลุ่มพืช

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

กระเจี๊ยบแดง







ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle

วงศ์ : Malvaceae

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

สรรพคุณ :

กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล

เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย

ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด

น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง

ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี

น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง

ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ

เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ

เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย

ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก

ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก

ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ

เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด



นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด



วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
นานาสาระ
สมุนไพรไล่แมลง
( เพลี้ย,ไรแดง,เพลี้ยไก่แจ้,เพลี้ยแป้ง,เพลี้ยหอย )

สูตรที่ 1

ยาฉุน ½ กิโลกรัม

น้ำตาล 1 กิโลกรัม

ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม

จุลินทรีย์ 1 ลิตร

สาบเสือ 1 กิโลกรัม

น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

นำวัตถุดิบที่โขลกแล้วมาหมักไว้ 7 วัน ใช้น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง

สูตรที่ 2

หางไหล 1 ½ กิโลกรัม

น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ

ทุบให้แหลกแช่น้ำ 1 คืน น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง

สูตรที่ 3

ยาฉุน ½ กิโลกรัม

ข่า 1 กิโลกรัม

เม็ดสะเดา ½ กิโลกรัม

ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม

น้ำ 10 ลิตร

น้ำตาล 1 กิโลกรัม

จุลินทรีย์ 1 ลิตร



วิธีทำ

นำวัตถุดิบทั้งหมดหมักไว้ 7 วัน น้ำยา ½ ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง



สูตรสารไล่และกำจัดแมลง

วัสดุ

1. ไหลแดง 1 ส่วน

2. เมล็ดสะเดา 1 ส่วน

3. ยาฉุน ½ ส่วน

4. ตะไคร้หอม 1 ส่วน

5. บอระเพ็ด 1 ส่วน

6. ข่า 1 ส่วน

7. ใบยูคาฯ 1 ส่วน

8. ใบหนอนตายหยาก 1 ส่วน

9. สาบเสือ 1 ส่วน

10. ใบน้อยหน่า 1 ส่วน

11. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

12. น้ำ 10 ลิตร



สมุนไพรไล่ยุง และวิธีทำสมุนไพรไล่ยุง มีมากมายดังนี้

สะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha arversis

ลักษณะ สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาด หัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม

ส่วนที่ใช้ ใบ

วิธีใช้ ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรง

กระเทียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum

ลักษณะ กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อ บางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อเล็กๆ สีขาวรวมกันเป็นกระจุก อยู่ที่ปลายก้านดอก

ส่วนที่ใช้ หัว

วิธีใช้ นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้

กะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanotum

ลักษณะ กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่ นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหมู

ส่วนที่ใช้ ใบ

วิธีใช้ ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออก มาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถูที่ ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อน ข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้ง

ว่านน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Acorus calamus

ลักษณะ ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้า เป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียว

ส่วนที่ใช้ เหง้า

วิธีใช้ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง

แมงลัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum citratum

ลักษณะ แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง

ส่วนที่ใช้ ใบ

วิธีใช้ ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง

ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon nardus

ลักษณะ ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและ ลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอย

ส่วนที่ใช้ ต้นและใบ

วิธีใช้ นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้นมา ทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วย ไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้

ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข